- การสร้างคำโดยใช้ คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน และคำพ้อง
- วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
- วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน
- การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ๑๑
๒. หลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๒
- การสร้างคำสมาส
- ลักษณะของประโยค ( ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน )
- การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ
๓. หลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้น ม.๓
- จำแนกและใช้คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
- โครงสร้างของประโยคซับซ้อน
- ระดับของภาษา
- การใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
- การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและคำสุภาษิต
การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มากขึ้น ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นการเสียหายประการใด ทั้งนี้เพราะมีการติดต่อระหว่างประเทศทั้งทางการทูต การค้าและวิทยาการต่างๆ มีการรับความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมและศาสนา จึงมีคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน คำชวา คำมลายู คำภาษาอังกฤษ คำฝรั่งเศส คำโปตุเกส คำภาษาอาหรับ เป็นต้น
การยืมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤต คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
1.ใช้เป็นราชาศัพท์ ราชาศัพท์ที่สร้างจากคำบาลีสันสกฤตมีมาก เช่น พระบรมราโชวาท พระราชเสาวนีย์ ในทางปฏิบัติ คำว่าราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คฤหัสถ์ใช้กับพระสงฆ์และพระสงฆ์ใช้ในหมู่พระสงฆ์กันเองด้วย เช่น อาพาธ มรณภาพ นมัสการ อีกทั้งยังหมายรวมถึงคำภาษาแบบแผนและคำสุภาพทั่ว ๆ ไปซึ่งใช้กับข้าราชการและสุภาพชนอีกด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน. , 2546 , หน้า 952) แต่จะแยกกล่าวในข้อต่อ ๆ ไป
2.ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา ศัพท์เฉพาะเหล่านี้นิยมสร้างหรือยืมจากบาลีสันสกฤตเช่นกัน เช่น นิวรณ์ มุสาวาท โผฏฐัพพะ อิทธิบาท เวทนา
3.ใช้ในทางวรรณคดี ซึ่งใช้เฉพาะในร้อยกรอง โดยปรกติการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำมักเป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับบทประพันธ์ ที่เรียกว่า การกลายเสียงโดยเจตนาด้วย เช่น เวหน สุริยง เกศา มยุเรศ มาลี ราษตรี
4.ใช้ในภาษามาตรฐานหรือใช้เป็นคำสุภาพ ใช้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น บิดา มารดา สามี ภริยา ภรรยา บุตร ธิดา ประสงค์ นาม
5.ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ แต่บางทีก็อาจมีการหาคำใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในภาษาไทยมาใช้ก็ได้ เช่น เจตคติ นันทนาการ บรรยเวกษ์
6.ใช้เป็นคำสามัญ คือคำภาษาพูดที่ใช้สนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อายุ เศรษฐี โรค ปัญหา ภาษา ชาติ ประเทศ สัตว์ หิมะ เวลา อาหาร
7.ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ ตำนาน และเทพนิยายต่าง ๆ ชื่อสถานที่และอื่น ๆ เช่น ชื่อจังหวัด อำเภอ แม่น้ำ และภูเขา เป็นต้น
การสังเกตคำบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี
|
ภาษาสันสกฤต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น